รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เรียน อาจารย์ ภัทรดร จั้นวันดี
ดิฉัน นางสาว ลลิตา เลิศฤทธิ์เรืองสิน
รหัส 58723713209 หมู่เรียนที่ 2
รหัส 58723713209 หมู่เรียนที่ 2
สรุปเนื้อหารายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาประจำวันที่ 26 กันยายน 2558
UNESCO Model
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ของ UNESCO ระดับ Micro Level
การพัฒนาหลักสูตร ระดับ Micro Level ของ UNESCO จะพูดถึงในระดับรายวิชา
ซึ่งเริ่มจากการ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง เพื่อน
าข้อมูลมาออกแบบบทเรียนและผลิตวัสดุการเรียนการสอน ก่อนที่จะนำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขกับกลุ่มทดลอง
หลังปรับปรุงแล้วจึงนำไปใช้จริงกับประชากร และประเมินผลเป็นวงจรต่อไปเรื่อย ๆ
UNESCO
Model (Macro/Micro Level)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ของ
UNESCO
การพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ จะเริ่มจากการศึกษาความต้องการ
การวิเคราะห์ประชากรเป้าหมาย การวิเคราะห์งานอาชีพ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากำหนดปรัชญาและจุดมุ่งหมาย
จากนั้นจึงเป็นการกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร กำหนดวิธีการในการประเมินผล และประเมินผลการกำหนดวัตถุประสงค์เทียบกับความต้องการว่าสอดคล้องกันหรือไม่
หากประเมินแล้ววัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการก็จะออกแบบสร้างวัสดุการเรียนการสอน
นำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ แล้วจึงนาไปใช้จริงพร้อมกับมีการประเมินผลลัพธ์จากกระบวนการว่าสอดคล้องกับความต้องการที่ศึกษาไว้หรือไม่อย่างไร
Hannafin and Peck
แฮนนาฟินแอนด์เพ็ค
(Hannafin
and Peck) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้น โดยเรียกว่า Hannafin
and Peck Design Model สำหรับออกแบบบทเรียนทั่วๆไป ซึ่งจำแนกออกเป็น
4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ
1. การประเมินความต้องการ (Needs
Assessment) ได้แก่
การประเมินความต้องการใช้บทเรียนเพื่อการเรียนการสอนหรือเพื่อฝึกอบรม
เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความจำเป็นของการใช้บทเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานด้านเอกสารเป็นส่วนใหญ่
ผลที่ได้จะนำไปใช้ในการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการในขั้นต่อไป
2. การออกแบบ (Design)
ได้แก่
การออกแบบบทเรียนตามผลการวิเคราะห์ความจำเป็นที่ได้จากขั้นตอนแรก
โดยนำผลลัพธ์ที่ได้มาออกแบบบทเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้จึงเป็นตัวบทเรียนที่พร้อมจะนำไปพัฒนาในขั้นต่อ
ๆ ไป
3. การพัฒนาและการทดลองใช้ (Develop/Implement) ได้แก่ การพัฒนาเป็นบทเรียน เช่น
บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม
ตามแนวทางการออกแบบที่ได้จากขั้นตอนที่สอง
หลังจากนั้นจึงนำบทเรียนไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
4. การประเมินและสรุปผล (Evaluation and
Revision) ได้แก่ การประเมินผลบทเรียนและสรุปผล
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปแก้ไขบทเรียนในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น